วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงงานภาษาไทย

โครงงานภาษาไทย
เรื่อง สำนวนภาษา คำพังเพยในท้องถิ่น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          ภาษา ไทยในแต่ละท้องถิ่น มีภาษาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อาจจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี อิทธิพล จากประเทศเพื่อนบ้าน ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและความเป็นอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้น สำนวนภาษา และคำพังเพยที่ใช้จึงมีภาษาพูดที่แตกต่างกันออกไป แต่ความหมายยังคล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับสำนวนภาษา และคำพังเพยที่แตกต่างกันออกไป
          จึงได้ทำโครงงานการศึกษา สำนวนภาษาและคำพังเพยในท้องถิ่นของอำเภอโพนพิสัยขึ้น

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อรวบรวมสำนวนภาษา และคำพังเพยที่มีในท้องถิ่นอำเภอโพนพิสัย
          2. เพื่อหาความหมายของสำนวนภาษาและคำพังเพย
          3. เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปนำไปใช้ให้ถูกต้อง

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
          สำนวนภาษา และคำพังเพยแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
          1. สถานที่สำรวจในพื้นที่อำเภอโพนพิสัย
          2. ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่  2  สิงหาคม  -  25  สิงหาคม  2551

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
          1. หนังสือเสริมทักษะภาษาไทย
          2. พจนานุกรม
          3. เครื่องเขียน
          4. หนังสือสำนวนไทย

วิธีการศึกษา
          1. สอบถาม สัมภาษณ์ จากครู ผู้ปกครอง และบุคคลแหล่งชุมชนในท้องถิ่น
          2. ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน
          3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
          4. สร้างเครื่องมือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
          5. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บันทึกผล

วิธีบันทึก
          1. บันทึกภาพ
          2. จดบันทึก
          3. แบบสอบถาม

สรุปผลการศึกษา
          ในการศึกษาสำนวนภาษา และคำพังเพยที่ใช้ในท้องถิ่น อำเภอโพนพิสัย ได้ข้อมูลทั้งสิ้น 28สำนวน ดังนี้

          1. หูทวนลม                หมายความว่า     พูดไม่ฟัง
          2. งัวลืมตีน                  หมายความว่า        คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
          3. ขี้ค่านสันหลังยาว                  หมายความว่า     เป็นคนขี้เกียจ
          4. สีซอให้ควายฟัง                    หมายความว่า     ฟังแต่ไม่รับรู้
          5. สู่หลังซนฝา                           หมายความว่า     สู้ไม่ถอย
          6. สองตีนสองมือ                      หมายความว่า     ทำอะไรพร้อมๆ กัน
          7. ลิงหลอกเจ้า                            หมายความว่า     ต่อหน้าทำดีลับหลังนินทา
          8. หัวทอก่ำปั้น                           หมายความว่า    ยังเป็นเด็กแต่อวดเก่ง
          9. เที่ยวจนซอดแจ้ง              หมายความว่า    เที่ยวจนไม่รู้เวลาเช้าหรือเย็น
         10. เว้าคักแท้                                หมายความว่า     พูดเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เกินความจริง
         11. จับปูใส่กะด้ง                   หมายความว่า     อยู่ไม่นิ่ง
         12. ซั่วก่อนหมา                          หมายความว่า        ชั่วมาก
         13. หัวข้อหล่อ                             หมายความว่า     โตแต่หัว  แต่ตัวเล็กๆ
         14. เข่าใหม่ปลามัน                หมายความว่า      แต่งงานอยู่กินกันใหม่ๆ
         15. ใหญ่ย่อนกินเข่า  เฒ่าย่อนเกิดโดน   หมายความว่า       คนที่ไม่มีความรู้ ความคิด  คนโง่
         16.  ปั้นน้ำเป็นโต                       หมายความว่า       พูดเป็นตุเป็นตะ  ไม่มีความจริงเลย
         17. บ่ฮู้ปะสีปะสา                   หมายความว่า      ไม่ได้เรื่อง 
         18. ดำคือถ่าน                               หมายความว่า      เปรียบเทียบคนผิวดำ
         19. ดำคือขี้ควาย                           หมายความว่า      เปรียบเทียบคนผิวดำ
         20. ฝันลมๆ แล้งๆ                  หมายความว่า      เพ้อฝันไปวันๆ หนึ่ง
                21. นอนตะเว็นส่องก้น                     หมายความว่า      นอนจนกระทั่งสาย แล้วยังไม่ตื่น
22. ไก่ตาแตก                                        หมายความว่า        งงมาก
23. ถืกสวมเขา                                      หมายความว่า        โดนคนรักหักหลัง  หลอกลวง
24. พวกขี้หยอด                                   หมายความว่า        พวกที่ไม่รู้ประสีประสา
25. พวกตะแคงตีนย่าง                       หมายความว่า        ทำตัวเหมือนผู้ดี
26. เด็กน้อยอุ้มลูกแม่นมะแข้งมะเขือกิน        หมายความว่า        แต่งงานตอนเด็กๆ ยังไม่มีงาน    
หาเงินเลี้ยงครอบครัว
27. เอาทั้งงานราษฎร์งานหลวง               หมายความว่า      ทำงานทุกอย่าง
28. รวยหยังบ่บันยะบันยัง                       หมายความว่า       ร่ำรวยมาก

อภิปรายผลการศึกษา
          สำนวน ภาษา คำพังเพย ที่ไปสำรวจได้ ถ้าพูดด้วยภาษถิ่นทางใต้ด้วยแล้ว บางครั้งคนฟังที่เป็นคนต่างถิ่น จะไม่รู้เรื่องเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าใช้ภาษากลางพูด บางสำนวนฟังแล้วรู้เรื่อง เช่น สำนวนว่า เที่ยวจนซอดแจ้ง  ซอด   หมายถึง จนถึง กระทั่ง  แจ้ง  หมายถึง เช้า   
เว้าคักแท้  เว้า  หมายถึง  พูด  คักแท้  หมายถึง  มาก  เกินไป  อย่างไรก็ตาม    ภาษาถิ่น   แต่ละแห่งย่อมแตกต่างกันไป  ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

สรุปผลการศึกษา
          1. ได้สำนวนภาษา คำพังเพย จำนวน 23 สำนวน
          2. ได้ทราบความหมายของสำนวนทั้ง 23 สำนวน

ประโยชน์ที่ได้รับ
          1. ได้ทราบภาษาถิ่นที่เป็นสำนวนภาษา และคำพังเพย
          2. ได้ทราบความแตกต่างของภาษาถิ่นและภาษากลาง บางคำมาจากรากศัพท์เดียวกัน
          3. ภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่น ภาษาของชาวบ้านที่สรรหาคำมาเปรียบเปรย

ข้อเสนอแนะ
          1. ทำโครงงานเรื่องนี้ต่อ  โดยเก็บรวบรวมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
          2. จัดรวบรวม จำแนก  จัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น